ภาวะแฝงที่นำไปสู่โรคร้ายแรง ตับทำหน้าที่ในการเก็บสะสมพลังงาน ตับที่สุขภาพดีควรมีไขมันสะสมอยู่เล็กน้อย แต่ถ้าเรากินอาหารที่มีน้ำตาลหรือไขมันมากเกินไป ตับไม่ได้นำไปใช้หรือย่อยสลาย ทำให้เกิดไขมันสะสมที่ตับ
ระยะไขมันพอกตับ มี 4 ระยะ
ระยะที่ 1 เป็นระยะที่มีไขมันสะสมอยู่ในเนื้อตับ แต่ยังไม่มีการอักเสบหรือพังผืดเกิดขึ้นในตับ
ระยะที่ 2 เป็นระยะที่มีอาการอักเสบ
ระยะที่ 3 เป็นระยะที่มีการอักเสบรุนแรง ก่อให้เกิดพังผืดในตับ
ระยะที่ 4 เป็นระยะที่เซลล์ตับถูกทำลายจนตับไม่สามารถทำงานได้ตามปกติอีกต่อไป ทำให้ตับแข็งและอาจกลายเป็นมะเร็งตับได้ในที่สุด
อาการของภาวะไขมันพอกตับ
ภาวะไขมันพอกตับมักไม่ทำให้เกิดอาการใดๆจนกว่าจะดำเนินไปจนกลายเป็นโรคตับแข็ง แต่ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการดังนี้
- ปวดท้องหรือรู้สึกตึงบริเวณใต้ชายโครงขวา
- คลื่นไส้ เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด
- มีน้ำคั่งบริเวณท้องและขา
- ภาวะดีซ่านหรือภาวะตัวเหลืองตาเหลือง
- รู้สึกเหนื่อย ไม่มีแรง
ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงไขมันพอกตับ
ประมาณร้อยละ 20 ของคนเป็นโรคอ้วนลงพุงจะมีภาวะไขมันพอกตับร่วมด้วย
- น้ำหนักตัวมากเกิน (ดัชนีมวลกายหรือ BMI ≥ 25 ใน ASIA และ ≥35 ในเชื้อชาติอื่น)
- เป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวานหรือไขมันในเลือดสูง
- เป็นโรคไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง
- ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ (ความรุนแรงของโรคจะเกิดจาก ประเภท ปริมาณ ระยะเวลาที่ดื่มแอลกอฮอล์ )
- ลดน้ำหนักตัวอย่างรวดเร็ว
- มีภาวะขาดสารอาหาร
- มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ